เมนู

มิจฉาทิฏฐิ 10



[255] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉาทิฏฐิเป็นไฉน ? คือ ความ
เห็นดังนี้ว่า ทานที่ให้แล้ว ไม่มีผล 1 ยัญที่บูชาแล้ว ไม่มีผล 1
สังเวยที่บวงสรวงแล้ว ไม่มีผล 1 ผลวิบากของกรรมที่ทำดีทำชั่วแล้ว
ไม่มี 1 โลกนี้ไม่มี 1 โลกหน้าไม่มี 1 มารดาไม่มี (คุณ) 1 บิดาไม่มี
(คุณ) 1 สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะไม่มี สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้ดำเนิน
ไปชอบ ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง เพราะ
รู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลกไม่มี 1
นี้มิจฉาทิฏฐิ.

สัมมาทิฏฐิ 2



[256] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาทิฏฐิเป็นไฉน ? ดูก่อนภิกษุทั้ง
หลาย เรากล่าวสัมมาทิฏฐิไว้ 2 อย่าง คือ สัมมาทิฏฐิที่ยังเป็นสาสวะ
เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก้ขันธ์อย่าง 1 สัมมาทิฏฐิที่เป็นอริยะ ที่เป็น
อนาสวะเป็นโลกุตระเป็นองค์มรรคอย่าง 1

สัมมาทิฏฐิที่เป็นสาสวะ 10



[257] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฏฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็น
ส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ เป็นไฉน ? คือ ความเห็นดังนี้ว่า ทานที่ให้
แล้วมีผล 1 ยัญที่บูชาแล้วมีผล 1 การสังเวยที่บวงสรวงแล้วมีผล 1
ผลวิบากของกรรมที่ทำดีทำชั่วแล้วมีอยู่ 1 โลกนี้มี 1 โลกหน้ามี 1
มารดามี 1 บิดามี 1 สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะมี 1 สมณพราหมณ์ทั้งหลาย
ผู้ดำเนินไปชอบ ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง
เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเองในโลกมีอยู่ 1
นี้ สัมมาทิฏฐิที่ยังเป็นสาสวะ
เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์.

สัมมาทิฏฐิที่เป็นอนาสวะ



[258] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ สัมมาทิฏฐิที่เป็นอริยะ ที่เป็น
อนาสวะเป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค เป็นไฉน ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัญญา 1
ปัญญินทรีย์ 1 ปัญญาพละ 1 ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ 1 ความเห็นชอบ 1
องค์แห่งมรรค 1
ของภิกษุผู้มีจิตไกลข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้ พรั่งพร้อม
ด้วยอริยมรรค เจริญอริยมรรคอยู่นี้แล คือ สัมมาทิฏฐิที่เป็นอริยะเป็น
อนาสวะ
เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค.
ภิกษุนั้นย่อมพยายามเพื่อละมิจฉาทิฏฐิ เพื่อบรรลุสัมมาทิฏฐิความ
พยายามของเธอนั้น เป็น สัมมาวายามะ.

สัมมาสติ



เธอมีสติละมิจฉาทิฏฐิได้ มีสติบรรลุสัมมาทิฏฐิอยู่ สติของเธอนั้น
เป็น สัมมาสติ.

ธรรมะที่ห้อมล้อมสัมมาทิฏฐิ



ด้วยอาการนี้ ธรรม 3 ประการนี้ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ
สัมมาสติ
ย่อมห้อมล้อม เป็นไปตามสัมมาทิฏฐิของภิกษุนั้น.

สัมมาทิฏฐิเป็นประธานอย่างไร ?



[259] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง 7 นั้น สัมมาทิฏฐิ
ย่อมเป็นประธาน ก็สัมมาทิฏฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร ? คือ ภิกษุรู้จัก
มิจฉาสังกัปปะว่าเป็นมิจฉาสังกัปปะ รู้จักสัมมาสังกัปปะว่าเป็น สัมมา-
สังกัปปะ
ความรู้ของเธอนั้น เป็นสัมมาทิฏฐิ.